Eclipse คืออะไร
Eclipse คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับพัฒนาภาษา Java ซึ่งโปรแกรม Eclipse เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนา Application Server ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจาก Eclipse เป็นซอฟต์แวร์ OpenSource ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้โดยนักพัฒนาเอง ทำให้ความก้าวหน้าในการพัฒนาของ Eclipse เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
Eclipse มีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า Eclipse Platform ซึ่งให้บริการพื้นฐานหลักสำหรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆจากภายนอกให้สามารถเข้ามาทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และมีองค์ประกอบที่เรียกว่า Plug-in Development Environment (PDE) ซึ่งใช้ในการเพิ่มความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น เครื่องมือภายนอกจะถูกพัฒนาในรูปแบบที่เรียกว่า Eclipse plug-ins ดังนั้นหากต้องการให้ Eclipse ทำงานใดเพิ่มเติม ก็เพียงแต่พัฒนา plugin สำหรับงานนั้นขึ้นมา และนำ Plug-in นั้นมาติดตั้งเพิ่มเติมให้กับ Eclipse ที่มีอยู่เท่านั้น Eclipse Plug-in ที่มีมาพร้อมกับ Eclipse เมื่อเรา download มาครั้งแรกก็คือองค์ประกอบที่เรียกว่า Java Development Toolkit (JDT) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเขียนและ Debug โปรแกรมภาษา Java
ข้อดีของโปรแกรม Eclipse คือ ติดตั้งง่าย สามารถใช้ได้กับ J2SDK ได้ทุกเวอร์ชั่น รองรับภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา มี plugin ที่ใช้เสริมประสิทธิภาพของโปรแกรม สามารถทำงานได้กับไฟล์หลายชนิด เช่น HTML, Java, C, JSP, EJB, XML และ GIF และที่สำคัญเป็นฟรีเเวร์ (ให้ใช้งานได้ 90 วัน ถ้าจะใช้งานเต็มประสิทธิภาพต้องเสียค่าใช้จ่ายภายหลัง) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ Mac OS
ตัวอย่างโปรแกรม Eclipse
การติดตั้ง Eclipse บน Linux Ubuntu
ติดตั้งผ่าน Ubuntu Software Center
ขั้นตอนการติดตั้งก็เพียงแค่เปิด Ubuntu Software Center จากนั้น Search หาคำว่า ‘Eclipse’ วิธีการนี้ น่าจะเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด แต่ข้อเสียคือ จะไม่ใช่เวอร์ชั่นล่าสุด โดยเวอร์ชั่นที่สูงสุดใน Ubuntu Software Center คือ 3.8 แต่ปัจจุบัน Eclipse ออกเวอร์ชั่น Kepler 4.3 แล้ว
ติดตั้งผ่าน Ubuntu Software Center
ติดตั้งผ่าน Command-Line
วิธีการนี้ เหมือนกับการติดตั้งผ่าน Ubuntu Software Center เพียงแต่ไม่มีหน้าตา UI มาให้ แค่ใช้คำสั่งผ่าน command line แทน วิธีการติดตั้งคือ
sudo apt-get install eclipse
ติดตั้งผ่าน Command-Line
ที่มาของข้อมูล http://mindphp.com
http://devahoy.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น